SHUSHI JAPAN

ซูชิ
ซูชิคืออาหารญี่ปุ่นที่เป็นข้าวคลุกน้ำส้มสายชูมีอาหารทะเลสดวางอยู่ด้านบน เป็นตัวแทนของอาหารญี่ปุ่นที่ชาวต่างชาตินิยมกันอย่างมาก ข้าวปั้นที่ถูกจัดให้เป็นชิ้นพอคำจะเรียกว่า"ชาริ" ส่วนที่ทานกันทั่วไปจะเรียกว่า"นิกิริ ซูชิ" ซึ่งมีอาหารทะเลวางอยู่บน เรียกว่า "เนตะ" เวลาทานจะจิ้มกับโชยุและวาซาบิเล็กน้อย
ประวัติของซูชิ
ซูชิ (「寿司」 sushi – และมีการเขียนหลายแบบ ได้แก่ すし、鮨、鮓、寿斗、寿し、壽司?) หรือ ข้าวปั้นมีหน้า เป็นอาหารญี่ปุ่น ที่ข้าวมีส่วนผสมของน้ำส้มสายชู และกินคู่กับปลา เนื้อ หรือ ของคาวชนิดต่างๆ ในประเทศญี่ปุ่น ซูชิมักจะหมายถึงอาหารที่มีส่วนประกอบของ ซูชิเมะชิ (寿司飯, ข้าวที่ผสมน้ำส้มสายชู) และมีหน้าแบบต่างๆเป็นหน้า ที่นิยมได้แก่ อาหารทะเล ผัก ไข่ เห็ด เนื้อที่นำมาใช้อาจจะเป็นเนื้อดิบ หรือ เนื้อที่ผ่านกระบวนการทำอาหารแล้ว สำหรับในประเทศอื่น
ซูชิ หมายถึง การรวมกันระหว่างปลากับข้าว ซูชิมีวิวัฒนาการมาเมื่อหลายร้อยปีมาแล้วซึ่งเกิดจากความต้องการถนอมอาหารของคนญี่ปุ่น และซูชิก็ไม่น่าจะใช่อาหารญี่ปุ่นแท้ๆด้วยเชื่อกันว่าน่าจะนำเข้าจากเมืองจีนเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 7เนื่องจากมีเอกสารโบราณเก่าแก่ของจีนกล่าวถึงอาหารประเภทที่มีหน้าตาเหมือนกับซูชินี้เอาไว้ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 2 อาหารดังกล่าวเป็นปลาเค็มที่ใช้ข้าวเป็นตัวหมักจะนำมากินก็ต่อเมื่อปลาได้ที่แล้ว และกินเฉพาะแต่ปลาเท่านั้นส่วนข้าวนั้นเอาไปทิ้ง
อย่างไรก็ดี ยังมีอีกทฤษฎีหนึ่งเชื่อว่าซูชิอาจมีต้นกำเนิดมาจากแถบถิ่นเอเชียอาคเนย์บ้านเรานี้เองด้วยเหตุว่าประเทศเมืองร้อนแถบนี้ มีอาหารที่ถนอมหรือหมักด้วยข้าวหลากชนิด ยกตัวอย่างบ้านเราก็ปลาส้มนั่นไงเขาเลยไม่มองข้ามถึงความเป็นไปได้ตรงนี้เช่นกัน เดี๋ยวนี้มีตู้เย็นแล้วก็ไม่ต้องมาหมักกันกินทั้งข้าวทั้งปลานั่นแหละ อร่อยกว่ากันเยอะเลย

ซูชิ มีต้นกำเนิด จากอาหารไทย ?
ปลาส้มต้นกำเนิดซูชิ
เรื่องราวต้นของ กำเนิดซูชิ จากเว็บของสถานีโทรทัศน์ NHK ประเทศญี่ปุ่น กล่าวว่าซูชิมาจากประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีความใกล้เคียงกับปลาส้ม ที่นิยมรับประทานกันแถบภาคอีสานของไทยและประเทศลาว
ตามหาต้นกำเนิดซูชิในประเทศที่ร้อนตลอดปี
พิธีกรเดินทางไปเมืองไทยเพื่อตามหาต้นกำเนิดซูชิ เมื่อสอบถามพนักงานในร้านซูชิของไทยได้ความว่า ในภาคอีสานของไทยมีอาหารรสเปรี้ยวที่ทำจากปลาและข้าว พิธีกรจึงเดินทางไป จังหวัดขอนแก่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย พบว่าปลาส้ม(ปลาที่มีรสเปรี้ยว)ซึ่งเป็นอาหารพื้นเมืองที่มีมานานแล้ว ซึ่งเป็นที่กล่าวกันว่าคือต้นกำเนิดของซูชิ “ปลาส้ม” ทำจากการนำปลาน้ำจืด(ปลาแม่น้ำ)หมักกับเกลือสินเธาว์หนึ่งคืน จากนั้นบี้ข้าวเหนียวนึ่งลงไป แล้วทิ้งไว้ 3 วัน ระหว่างนั้นข้าวกับปลาจะทำปฏิกิริยากันทำให้เกิดรสเปรี้ยว
เหตุ ที่บอกได้ว่าปลาส้มเป็นต้นกำเนิดซูชิ
ปลา ส้มเป็นอาหารหมักทำจากข้าวและปลา ซึ่งคล้ายกับ “ฟุนะซูชิ” ซูชิแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นมาก นักวิจัยญี่ปุ่นหลายคนค้นคว้าและสำรวจ เรื่องต้นกำเนิดของซูชิมานานแล้ว พบว่าอาหารหมักแบบปลาส้ม มักทำกันในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย ลาว หรือทางตอนใต้ของจีน นักวิจัยเชื่อว่าอาหารประเภทนี้ เข้ามาในญี่ปุ่นพร้อมกับวัฒนธรรมการทำนา ปลูกข้าวตั้งแต่ก่อนคริสตกาล ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของ “ฟุนะซูชิ” และพัฒนามาเป็นซูชิในปัจจุบัน
กว่าปลาส้มจะมาเป็นซูชิ
ในอดีตก่อนคริสตกาล อาหารหมักแบบปลาส้ม จากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้ามาในญี่ปุ่นพร้อมกับ วัฒนธรรมการทำนาปลูกข้าว จนกลายมาเป็น “ฟุนะซูชิ” ซึ่งเป็นที่นิยมรับประทานทั่วประเทศญี่ปุ่น จากเอกสารสมัยนาระ พบว่า “ฟุนะซูชิ” เป็นอาหารที่มีราคาแพงมักใช้จ่ายเป็นภาษี แต่เดิมไม่นิยมรับประทานข้าวที่ใช้หมักปลา กระทั่งสมัยมูโรมาจิ “ซูชิ” เริ่มเป็นที่นิยมแพร่หลายมากขึ้น เริ่มมีคนรับประทานข้าวที่ใช้หมักเพราะความเสียดาย แล้วพบว่าข้าวที่ใช้หมักนั้นซึมซับ ความอร่อยของปลาที่หมักเป็นอย่างดี ตั้งแต่นั้นมาการกินข้าวกับปลาหมักก็เป็นที่นิยมจนทำให้ “ซูชิ” เป็นอาหารที่มีชื่อเสียง
สมัยเอโดะ ชาวเอโดะไม่สามารถทนรอปลาที่ต้องใช้เวลาหมักนานได้ จึงใช้ “น้ำส้มสายชู” ซึ่งเป็นเครื่องปรุงอาหารที่ทำจากการหมักข้าว นำมาคลุกเคล้ากับข้าว จนได้รสชาดเช่นเดียวกับการหมักปลากับข้าว ทำให้เกิด “ซูชิ” ซึ่งทำจากข้าวคลุกน้ำส้มสายชู กับปลาจนเป็นที่นิยมแพร่หลายในปัจจุบัน
ซูชิ เป็นอาหารญี่ปุ่น ที่ข้าวมีส่วนผสมของน้ำส้มสายชู และกินคู่กับปลา เนื้อ หรือ ของคาวชนิดต่าง ๆ ในประเทศญี่ปุ่น ซุชิมักจะหมายถึงอาหารที่มีส่วนประกอบของ ซูชิเมะชิ และมีหน้าแบบต่างๆเป็นหน้า ที่นิยมได้แก่ อาหารทะเล ผัก ไข่ เห็ด เนื้อที่นำมาใช้อาจจะเป็นเนื้อดิบ หรือ เนื้อผ่านกระบวนการทำอาหารแล้ว สำหรับในประเทศอื่น
ซูชิ หมายถึง การรวมกันระหว่างปลากับข้าว ซูชิมีวิวัฒนาการมาเมื่อหลายร้อยปีมาแล้วซึ่งเกิดจากความต้องการถนอมอาหารของคนญี่ปุ่น
"ซูชิ" นิยมหมายถึง นิงิริซูริ ที่เป็นข้าวมาอัดเป็นก้อนและมีเนื้อปลาวางบนด้านหน้าเท่านั้น
โดยลักษณะของซูชิ แบ่งออกเป็น 5 แบบคือ นิริงิซูชิ,มากิซูชิ,ชิราชิซูชิ,โอชิซูชิ,อินะริซูชิ


ปลาดิบ เมนูดีมีประโยชน์ หรือให้โทษต่อร่างกาย ?
มีหลายเหตุผลที่ทำให้คนเลือกรับประทานปลาดิบแทนเนื้อปลาที่ปรุงสุก บางคนอาจชอบรสสัมผัสของปลาดิบมากกว่า อาจมองว่าอร่อยกว่า หรืออาจมีความเชื่อว่าการรับประทานปลาดิบนั้นจะทำให้ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนมากกว่า หรืออาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ ได้
ปลาดิบ กินดีมีประโยชน์จริงหรือ ?
ปลาดิบถูกนำมาประกอบอาหารในหลากหลายรูปแบบ แตกต่างกันไปตามความนิยมของแต่ละประเทศ อย่างซาชิมิของประเทศญี่ปุ่นที่จะหั่นปลาดิบเป็นชิ้นพอดีคำรับประทานคู่กับวาซาบิและซอสถั่วเหลือง คาร์ปาชโช่ของประเทศอิตาลีที่นำปลาดิบมาแล่บาง ๆ รับประทานคู่กับสลัด หรือก้อยปลาเมนูพื้นบ้านของคนไทยที่นิยมมากในแถบอีสาน ซึ่งปรุงโดยใช้เนื้อปลาดิบมาผสมกับน้ำปลา น้ำมะนาว กระเทียม พริก และผักชนิดต่าง ๆ ให้รสชาติคล้ายลาบและส้มตำ
แต่นอกจากรสชาติที่เอร็ดอร่อยแล้ว ยังมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์บางส่วนได้กล่าวถึงคุณประโยชน์ต่าง ๆ ของปลาดิบไว้ ดังนี้
-
เสริมสารอาหาร
การรับประทานปลาดิบบางชนิดอาจทำให้ผู้บริโภคได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์จากเนื้อปลาได้มากกว่า เช่น วิตามินดีธรรมชาติที่มักไม่ค่อยพบในอาหารชนิดอื่น และโอเมก้า 3ที่มีประโยชน์ต่อการทำงานของสมองและร่างกาย เป็นต้น เพราะมีงานวิจัยบางส่วนพบว่าการนำปลาไปทอดอาจทำให้ปริมาณโอเมก้า 3 ลดลงได้ -
เสริมความแข็งแรงให้อสุจิเป็นอย่างไร
มีงานวิจัยหนึ่งให้ผู้ชายจำนวน 188 คนรับประทานปลาสดร่วมกับผัก ผลไม้ และธัญพืช พบว่าอสุจิของผู้ทดลองนั้นมีรูปลักษณ์ที่แข็งแรงและมีความคล่องตัวมากกว่าอสุจิของผู้ที่รับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ -
ลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง
การรับประทานปลาดิบแทนปลาปรุงสุกอาจช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็งได้ เพราะการทอดปลาหรือย่างปลาด้วยความร้อนสูงจะทำให้เกิดสารอันตรายอย่างเฮเทอโรไซคลิก เอมีน (Heterocyclic Amine) ซึ่งมีงานวิจัยบางส่วนพบว่าการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนสารชนิดนี้ในปริมาณมาก อาจทำให้มีโอกาสเป็นมะเร็งสูงขึ้น -
ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ
เนื้อปลาบางชนิดที่คนนิยมกินเป็นปลาดิบอย่างปลาแซลมอนนั้นอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์อย่างโอเมก้า 3 ซึ่งมีงานวิจัยพบว่าอาจช่วยต้านโรคหัวใจและหลอดเลือดได้
อย่างไรก็ตาม งานวิจัยบางส่วนก็เป็นเพียงการศึกษาในห้องทดลอง จึงยากที่จะกล่าวได้ว่าปลาดิบจะให้คุณประโยชน์ต่าง ๆ ในทางการแพทย์และสุขภาพได้จริง ดังนั้น ควรมีการศึกษาถึงประสิทธิผลของการบริโภคปลาดิบโดยค้นคว้าในมนุษย์เพิ่มเติม เพื่อนำผลลัพธ์ที่ได้มาปรับประยุกต์และให้คนดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสมในอนาคตต่อไป
ข้อควรระวังในการบริโภคปลาดิบ
แม้การรับประทานปลาดิบจะให้คุณประโยชน์ตามที่กล่าวมาข้างต้น แต่ผู้บริโภคก็ควรรับประทานปลาดิบด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะอันตรายที่อาจปนเปื้อนมากับปลาดิบ ดังนี้
เชื้อปรสิตและแบคทีเรีย
การติดเชื้อปรสิตและแบคทีเรียเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญในหลายประเทศเขตร้อน ซึ่งเชื้อดังกล่าวอาจส่งผ่านทางน้ำดื่มหรืออาหารที่ไม่ผ่านการปรุงสุกอย่างเมนูปลาดิบ โดยมีการศึกษาบางชิ้นพบว่าการรับประทานปลาดิบอาจทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อปรสิตชนิดต่าง ๆ ได้ เช่น พยาธิใบไม้ในตับที่มักพบในผู้ที่รับประทานปลาน้ำจืดแบบดิบ ๆ หรือเชื้อแบคทีเรียซาโมเนลลา (Salmonella) ที่เป็นสาเหตุของโรคบิดหรือทำให้มีอาการท้องเสีย เป็นต้น
สารมลพิษ
สาร POPs (Persistent Organic Pollutants) หรือสารมลพิษที่ตกค้างยาวนานซึ่งพบในปลา อาจเกี่ยวข้องกับโรคเรื้อรังต่าง ๆ อย่างโรคมะเร็งและโรคเบาหวาน โดยมีงานวิจัยที่พบว่า สาร POPs ในปลาแซลมอนดิบมีปริมาณสูงกว่าในปลาแซลมอนปรุงสุกถึง 26 เปอร์เซ็นต์
สารปรอท
มีงานวิจัยหนึ่งพบว่าปลาดิบมีปริมาณสารปรอทสูงกว่าปลาปรุงสุกถึง 50-60 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมักพบสารปรอทตกค้างมากในปลาทูน่า ปลากระโทงดาบ และปลาแมกเคอเรล ส่วนปลาที่มีปริมาณสารปรอทน้อย ได้แก่ ปลาแซลมอน ปลาไหล และปลาเทราต์
ความเสี่ยงโรคมะเร็ง
มีงานค้นคว้าและข้อมูลทางการแพทย์ส่วนหนึ่งพบว่า การบริโภคปลาดิบอาจทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับและพยาธิตับ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งท่อน้ำดีและมะเร็งตับด้วย โดยปัจจุบันมักพบการเจ็บป่วยลักษณะนี้ได้มากในเขตภาคอีสานของประเทศไทย
บริโภคปลาดิบอย่างไรให้ปลอดภัย ?
การนำปลาดิบมาประกอบอาหารในเมนูต่าง ๆ อย่างปลอดภัยต่อสุขภาพ อาจทำได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
-
เลือกซื้อปลาดิบจากแหล่งขายที่น่าเชื่อถือ สะอาด และได้มาตรฐาน โดยให้ซื้อปลาดิบที่วางอยู่บนน้ำแข็งหรืออยู่ในตู้แช่เย็น พร้อมทั้งตรวจดูว่าปลาสดหรือไม่ และไม่ซื้อปลาที่มีกลิ่นบูดหรือกลิ่นเหม็นคาว
-
ตรวจหาเชื้อปรสิตต่าง ๆ ในเนื้อปลาดิบด้วยสายตาก่อนนำมาบริโภค
-
เลือกบริโภคปลาดิบที่ผ่านการแช่แข็งมาก่อน เพราะการแช่แข็งปลาดิบที่อุณหภูมิ -20 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 1 สัปดาห์ หรือการแช่แข็งปลาดิบที่อุณหภูมิ -35 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 15 ชั่วโมง อาจช่วยฆ่าเชื้อปรสิตต่าง ๆ ได้ แต่ควรระมัดระวังเสมอ เนื่องจากช่องแช่แข็งที่ใช้ในครัวเรือนอาจไม่ทำให้เกิดความเย็นที่เพียงพอ
-
ไม่ควรเก็บปลาไว้ในตู้เย็นนานเกินไป และควรบริโภคให้หมดภายใน 2-3 วัน
-
ไม่วางปลาไว้ด้านนอกตู้เย็นนานเกิน 1-2 ชั่วโมง เพราะอุณหภูมิห้องจะทำให้เชื้อแบคทีเรียเจริญเติบโตเร็วขึ้น
-
ไม่ควรรับประทานปลาดิบอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ๆ เนื่องจากอาจทำให้ได้สารอาหารไม่ครบถ้วน เสี่ยงได้รับพยาธิหรือสารปรอทสะสมอยู่ในร่างกายได้
-
ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังสัมผัสปลาดิบ รวมถึงทำความสะอาดห้องครัว อุปกรณ์ทำครัว และพื้นผิวบริเวณที่ปรุงอาหารด้วยปลาดิบให้สะอาดเสมอ เพื่อหลีกเลี่ยงการนำเชื้อที่อาจปนเปื้อนจากปลาดิบไปติดเมนูอาหารหรือภาชนะอื่น ๆ
นอกจากนี้ สตรีตั้งครรภ์ควรระมัดระวังในการรับประทานปลาดิบมากเป็นพิเศษ เพราะอาจเสี่ยงติดเชื้แบคทีเรีย พยาธิ และอาจเสี่ยงได้รับสารปรอทมากเกินไป จนมีผลหรือเกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้


กินปลาดิบ เรียนรู้วัฒนธรรมการทานปลาดิบแบบญี่ปุ่น
วันที่ 15 สิงหาคม เป็นวันแห่งปลาดิบ ซึ่งในวันนี้เมื่อปี ค.ศ. 1448 ได้มีการบันทึกคำว่า Sashimi เป็นลายลักษณ์อักษรเป็นครั้งแรก สำหรับคนที่ชอบรับประทานอาหารญี่ปุ่นคงจะรู้จักกับ ซาชิมิ เป็นอย่างดี ซึ่งคำว่า ซาชิมิ นั้นไม่ได้หมายถึงแค่ปลาดิบ แต่หมายถึงการนำเนื้อดิบจากสัตว์ เช่น ปลาชนิดต่าง ๆ, ปลาหมึก, หอย เป็นต้น มาหั่นหรือแล่สด ๆ แล้วรับประทานโดยไม่ผ่านการปรุงด้วยความร้อน
ประเทศญี่ปุ่นเป็นเกาะ ล้อมรอบด้วยทะเลจึงทำให้สามารถหาอาหารทะเลที่สดใหม่มารับประทานได้ในทุก ๆ ฤดูกาล ความสำคัญในการรับประเทศซาซิมิก็คือวัตถุดิบ ที่ต้องสะอาดและสดใหม่ พิถีพิถัน ในทุกขั้นตอน ซึ่งในการรับประทานซาซิมิที่นอกจากอร่อยแล้วยังมีประโยชน์ ต่อร่างกาย แต่ข้อเสียคือมีคอลเลสเตอรอลสูง และต้องเลือกร้านที่สะอาด ใช้วัตถุดิบที่สดใหม่ เพราะการรับประทานซาซิมิที่ไม่ผ่านการปรุงรสเสี่ยงต่อพยาธิและเชื้อโรคที่ปลอมปนมากับอาหาร
การรับประทานซาซิมิ ชาวญี่ปุ่นแนะนำว่าให้ทานปลาที่มีเนื้อสีขาวก่อน ต่อด้วยปลาเนื้อสีเงิน และปลาเนื้อสีแดง ปลาที่มีรสเข้มข้น เช่น แซลมอน และปลาที่มีไขมันสูง ให้ทานลำดับสุดท้าย เพื่อที่เราจะได้เพลินไปกับรสชาติของปลาทุกชนิดที่เรารับประทาน
ในการรับประทานซาซิมินั้น จะต้องทานกับเครื่องเคียงและเครื่องปรุงรส เช่นโซยุ ที่มาช่วยในการดับกลิ่นคาวของอาหารทะเล รวมทั้งผักชนิดต่าง ๆ เช่น หัวไชเท้าขูด , สาหร่าย หรือผักที่หาได้ตามท้องถิ่น ตามฤดูกาลที่เสิร์ฟมาพร้อมกับซาซิมิ และจะจัดแต่งมาในจานอย่างสวยงาม ที่ขาดไม่ได้คือ ตัวช่วยอย่างวาซาบิ และขิงดอง หรืออาจจะมีบ๊วย และมัสตาร์ด เพิ่มมาด้วย
ส่วนเครื่องปรุงนั้นก็ให้เราเทโชยุลงใส่ถ้วยเล็ก ๆ และใส่วาซาบิ ลงบนซาซิมิ แล้วก็จิ้มโชยุรับประทาน เพราะรสเผ็ดของวาซาบิ จะไม่จางไปจากการผสมลงในโชยุ แต่หากใครจะใช้วิธีผสมวาซิบิลงไปในถ้วยโชยุก็ได้เช่นกัน ปริมาณของวาซาบิก็แล้วแต่ชอบ บางคนชอบใส่มาก ๆ เพราะจะขึ้นจมูก ทำให้หายใจโล่งดี
ส่วนขิงดอง จะเป็นตัวคั่นในการรับประทานเนื้อปลาต่างชนิดกัน เหมือนเป็นการล้างปากเพื่อให้เราพร้อมรับประทานซาซิมิชนิดถัดไป
นอกจากการรับประทานซาซิมิ เป็นอาหารจานหลักแล้ว ชาวญี่ปุ่นยังมีการนำซาชิมิ มาเป็นส่วนประกอบในอาหารชนิดอื่น ๆ เช่น ซูชิ หรือข้าวปั้นหน้าต่าง ๆ ที่เสิร์ฟเป็นคำ โดยนำซาซิมิมาวางไว้ด้านบนของข้าวปั้น หรืออาจจะนำสาหร่ายมาพันกับข้าวปั้น จานต่อมาคือ สลัดซาชิมิ จะเป็นสลัดที่มีการนำซาชิมิ โรยลงบนผักสลัดและรับประทานกับน้ำสลัดชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะน้ำสลัดที่มีส่วนผสมของโชยุ หรือมีกลิ่นของวาซาบิ ส่วนบ้านเราก็มีการดัดแปลงนำมาน้ำเป็นพวกยำแซลมอน ซึ่งมีรสชาติเผ็ด ๆ เราว่าก็เข้ากันดีกับคนไทยเราเพราะไม่เลี่ยน อีกจานที่เป็นที่นิยมนำซาซิมิ มาเป็นส่วนประกอบคือ การสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ โรยด้วยผักและมิโซะ



ที่ประเทศญี่ปุ่นเราสามารถหารับประทานซาซิมิได้ในร้านอาหารทั่วไป รวมถึงในซุปเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำ ถ้าใครไปเที่ยวโตเกียวแล้วอยากทานแบบสด ๆ ก็ต้องไปที่ตลาดปลาเลยค่ะ ก็จะได้ทานแบบสดจากแหล่งผลิตหรือจากเรือกันเลยทีเดียว แต่ถ้าไม่อยากตื่นเช้า จะไปหาร้านที่เป็นซูชิ เคาน์เตอร์ เราก็จะได้นั่งดูพ่อครัวแร่และหั่นซาชิมิกันสด ๆ ในแต่ละภูมิภาคก็จะมีอาหารทะเลต่างชนิดกัน หากมีโอกาสเราควรลองรับประทานอาหารทะเลชนิดต่าง ๆ ที่จับได้หรือหาได้ในเมืองที่เราได้ไปเยือนก็จะทานแบบสด ๆ ที่ในแต่ละเมืองแนะนำก็จะฟินมากขึ้นไปอีก
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมโทร
095-3596432